แผนที่ประเทศไทย

แผนที่ประเทศไทย
ความดี..ก็เหมือนกางเกงในต้องมีติดตัวไว้..แต่..ไม่ต้องเอามาโชว์

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินผล กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระดับช่วงชั้นที่ 3
เรื่อง การคูณและการหารเลขยก จำนวน4 ชั่วโมง
1. สาระการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
2. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 1.1
มาตรฐาน ค 6.1 ค 6.2 ค 6.3 ค 6.4 ค 6.5
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
หาผลคูณ ผลหารของเลขยกกำลังที่มีฐานเดี่ยวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
4. หลักฐานการเรียนรู้
1 ผลงานจากการทำใบกิจกรรม
2 แผ่นพับ
3 แบบฝึกหัด
5. ความรู้และทักษะจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
การคูณการหารจำนวนเต็ม และ การคูณหารหารเศษส่วนและทศนิยม
6. แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน รายวิชา ค 011
2. คู่มือ และหนังสือในห้องสมุด
7. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
(1) ทบทวนบทนิยาม เลขยกกำลัง โดยใช้วิธีถาม ตอบ โดยกำหนดโจทย์ง่าย ๆ เช่น
1. 2 × 2 × 2 × 2 = 24
2. 5 × 5 × 5 = ……
3. 7 × 7 × 7 × 7 × 7 = ……
4. 3 × 3 = ……
5. 11 × 11 × 11 × 11 = ……
(2) ให้นักเรียนเล่นเกมคูณหารเลขยกกำลัง โดยแจกบัตรเลขยกกำลังให้กับนักเรียนทุกคน คนละ 1 ใบ ให้นักเรียนจับคู่กันโดยเลือกจับคู่กับใครก็ได้ แล้วช่วยกันหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ ลังในบัตรทั้งสอง
(3) ในขณะนักเรียนหาผลคูณและผลหาร ครูคอยสังเกต ชี้นำเพื่อให้นักเรียนได้คิดและหาผลของคำตอบที่เป็นกระบวนการ
(4) สุ่มนักเรียนออกมาแสดง และเฉลยคำตอบของตนเอง 5- 6 กลุ่ม จนนักเรียนสามารถสรุปร่วม กัน
ตัวอย่าง เช่น 23 × 24 = ( 2 × 2 × 2 ) × ( 2 × 2 × 2 × 2 )
= 2 × 2 × 2 × 2 × 2 × 2 × 2
= 27 (5)
นักเรียนทำแบบฝึกหัดลงในสมุด
ชั่วโมงที่ 2
(1) ทบทวนโดยวิธีเฉลยแบบฝึกหัดที่ผ่านมา
(2) นักเรียนเรียนรู้ทฤษฎีบท เกี่ยวกับเลขยกกำลัง ใน
ใบกิจกรรมที่ 2.1 ครูคอยสังเกตและช่วยเหลือ นักเรียน
(3) ตรวจผลงาน อภิปราย และสรุปใบกิจกรรม
(4) นักเรียนเรียนรู้ และฝึกทักษะจากใบกิจกรรมที่ 2.2
(5) ตรวจผลงาน ร่วมกันอภิปราย สรุป และให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบท
ชั่วโมงที่ 3
(1) นักเรียนจับคู่ 2 คน และช่วยกันฝึกทักษะ และทำกิจกรรมในใบกิจกรรม 2.3
(2) ครูสรุป และเสนอแนะในการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ 4
(1) ตรวจผลงาน (แผ่นพับ)
(2) ทดสอบหลังเรียน
(3) แจ้งผลการสอบ และซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
8. การประเมินผล
1 ผู้ประเมิน
(1) ครูผู้สอน
(2) เพื่อนนักเรียน
2 สิ่งที่ต้องประเมิน (1) ผลงานของนักเรียน
(2) กระบวนการกลุ่ม
(3) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน
(4) การนำเสนอผลงาน
3 ประเด็นการประเมิน
(1) ผลงานของนักเรียน ประกอบด้วย
- ผลงานจากการปฏิบัติงานในใบกิจกรรม 2.1 – 2.3
- แผ่นพับเลขยกกำลัง
- แบบฝึกหัดท้ายบท
(2) กระบวนการกลุ่ม
(3) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน
(4) การนำเสนอผลงาน
4 เกณฑ์การให้คะแนน
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
น้ำหนัก
4
3
2
1
(1) ผลงานจากการปฏิบัติงานในใบกิจกรรม 2.1-2.3
ทำได้ถูกต้อง และมีกระบวนการครบถ้วนทุกขั้นตอน
ทำได้ถูกต้อง และมีกระบวนการบางขั้นตอนไม่ครบถ้วน
ทำได้ถูกต้อง ไม่ทุกข้อและมีกระบวนการบางขั้นตอนไม่ครบถ้วน
ทำไม่ถูกต้องหรือผิดเป็นส่วนมาก และมีกระบวนการไม่ครบถ้วน
5
(2) แผ่นพับ
-เนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วน
-รูปเล่มเหมาะสม สวยงาม
-ใช้ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
-เนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วน
-รูปเล่มเหมาะสม สวยงาม
-ขาดศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
-เนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วน
-รูปเล่มไม่เหมาะสม
-ไม่มีศิลปะขาดความคิดสร้างสรรค์
-เนื้อหาไม่สมบูรณ์
- รูปเล่มไม่เหมาะสม
-ไม่มีศิลปะขาดความคิดสร้างสรรค์
2
(3) แบบฝึกหัด
- คำตอบถูกต้องทุกข้อ
- มีขั้นตอนถูกต้อง ครบถ้วนทุกข้อ

- คำตอบถูกต้องทุกข้อ
- มีขั้นตอนถูกต้องไม่ครบถ้วนทุกข้อ
- คำตอบถูกต้อง 60-80%
- มีขั้นตอนถูกต้องไม่ครบถ้วนทุกข้อ
- คำตอบถูกต้องไม่ถึง 60%
- มีขั้นตอนถูกต้องไม่ครบถ้วนทุกข้อ
2
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
น้ำหนัก
4
3
2
1
(4) กระบวนการกลุ่ม
-ทุกคนให้ความร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่
-มีการพูดคุย ปรึกษาและอภิปรายภายในกลุ่ม

-ทุกคนร่วมมือกันทำงานเต็มที่
-มีการปรึกษากัน
-ทุกคนร่วมมือกันทำงาน
-ไม่มีการปรึกษา และอภิปรายกัน
-ร่วมมือกันไม่เต็มที่
-ไม่มีการปรึกษา และอภิปรายกัน
1
(5) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน
-มีความรับผิดชอบ
-มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
-ซื่อสัตย์สุจริต
-มีสัมมาคารวะ
ขาดคุณสมบัติ 1 ข้อ
ขาดคุณสมบัติ 2 ข้อ
ขาดคุณสมบัติ 3 ข้อ
1
(6) การนำเสนอผลงาน
-มีความสัมพันธ์และตรงตามเนื้อหา
-มีการนำเสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่อง
-ใช้ภาษาเหมาะสมเข้าใจง่าย
-ใช้เวลาที่กำหนด
-มีความสัมพันธ์และตรงตามเนื้อหา
-มีการนำเสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่อง
-ใช้ภาษาเหมาะสมเข้าใจง่าย
-มีความสัมพันธ์และตรงตามเนื้อหา
-มีการนำเสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่อง
-มีความสัมพันธ์และตรงตามเนื้อหา
1

5 ระดับคุณภาพ
คะแนน 39 – 48 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 26 – 38 หมายถึง ดี
คะแนน 13 – 25 หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 – 12 หมายถึง ปรับปรุง

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

นางสาวนฤมล ศรีอู๋
คบ.2 สังคมศึกษา
รหัส 514110007
1.มัลติมีเดียมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอน?

-มัลติมีเดีย มีการใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถามบทที่ 4

1.สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร

ตอบ เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้

2.สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง


ตอบ จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้
-1. อุปกรณ์ (Hardware)
-2. วัสดุ (Software)
-3. เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method)

3.เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน


ตอบ โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เขาถือว่าประสบการณ์ที่นักเรียนกระทำตรงโดยมีจุดมุ่งหมายนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากสื่อประเภทอื่น ๆ นั้นมีความเป็นรูปธรรมลดน้อยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเป็นนามธรรมมากที่สุดคือ ประสบการณ์จากสื่อการสอนประเภทวจนสัญลักษณ์ เดลได้เขียนให้เห็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)


4.ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง


ตอบ-1.1 ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น-1.2 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
-1.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
-1.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
-1.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา


5.ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง


ตอบ Analyze Learner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน State Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์ Select, Modify, or Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ Utilize Materials การใช้สื่อ Require Learner Response การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน Evaluation การประเมิน


6.ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร


ตอบ การใช้สื่อการสอนจะมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาหลักการเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกใช้เทคนิคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกัลป์ปบหลักการอื่นๆในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง


7.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


ตอบ 2.3.1 พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และพัฒนาการ
2.3.2 จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม และการเสริมสร้างทางปัญญา
2.3.3 ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออก หรือ


8.ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไร


ตอบ ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


9.การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร


ตอบ การผลิตและการเลือกใช้สื่อควรเลือกให้ตรงตามเนื้อหาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมกับเพศและวัยที่ศึกษา และควรมีจุดประสงค์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน


10.ปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร


ตอบ ปัจจุบันนี้การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะใช้สื่อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เพราะผู้สอนใช้อย่างสะดวกสบาย และทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำถามทบทวน

1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร

-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มนุษย์ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญกับการเรียนรู้ เพราะจะทำให้ผู้สื่อสารทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน

2. องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง

-องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

3. จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร

-ผู้ส่งสาร ---- การเข้ารหัส ----สัญญาณ ---- การถอดรหัส ---- ผู้รับสาร

4. ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสาร 2 ทาง

คนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร-เพราะจะได้ทำให้รู้ว่าสิ่งที่สอนไปนั้นผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ มากน้อยเพียงใดและควรปรับปรุงตรงส่วนใดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ คนเราสามารถรับรู้ทางตาได้มากที่สุด ในปริมาณ 75 เปอร์เซนต์


5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

-องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว


6. อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง

-อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น

4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน


7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ

-1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell)ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่าWho คือใคร ใครเป็นคนพูดSay What พูดเรื่องอะไรIn Which Channel ใช้ช่องทางใดTo Whom กับใคร(ผู้รับสาร)With What Effect ได้ผลอย่างไรWhoผู้ส่งสารSay WhatสารIn Which Channel สื่อTo WhomกับใครWith What Effect ผลผู้ส่งสาร ----- Say What ----- In Which Channel ----- To Whom -----With What Effect ผลสื่อ สาร กับใครภาพที่ แบบจำลองการสื่อสารของลาสแวลล์ที่มา (Lasswell , 1948, p. 37)


8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน

- องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์ ส่วนองค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว


9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้

-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นางสาวนฤมล ศรีอู๋
รหัส 514110007
สังคมศึกษา


1.ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ วิธีระบบ(System Approach) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงาน

2.องค์ประกอบของระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

3.วิธีระบบกับการเรียนการสอน เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4.รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้ A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ 1.) วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย
2. )เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข 3.) เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง
E = EVALUATION การประเมินผล

5 . การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. วิธีการออกแบบการสอน1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)

7.เช่น การจัดทำโครงการ สิ่งนำเข้า การกำหนดจุดมุ่งหมาย กระบวนการ การลงมือทำให้เหมาะสมบรรลุจุดมุ่งหมาย การนำผลผลิตที่ได้มาแก้ปัญหาแล้วประเมิน การตรวจสอบประสิทธิภาพ